การเลือกปลาที่จะเลี้ยง
การเลือกปลาที่จะเลี้ยง
เมื่อได้เตรียมการขั้นตอนต่างๆ ไว้พร้อมแล้ว ก็ถึงตอนจัดหาปลาที่จะเลี้ยงมาลงตู้ปลา เรื่องนี้ไม่จำเป็นต้องรีบร้อนค่อยๆ เลือกไปและต้องใจเย็นเพราะผลที่จะเกิดเป็นความเพลิดเพลินเจริญตาเจริญใจยิ่งนัก สำหรับนักเลี้ยงปลาตู้ เพราะถ้าขาดความรอบคอบไม่ระมัดระวังก็อาจจะได้ปลาที่อ่อนแอขี้โรค หรือบางที่ปลาอาจจะต้องเดินทางไกลกว่าจะถึงมือผู้เลี้ยง อาจทำให้เกิดความเครียดอ่อนเพลียและอาจกลายเป็นปลาขี้โรคได้เหมือนกันฉะนั้นการจัดหาปลามาเลี้ยงมีสิ่งที่ควรคำนึงถึง คือ
1. ขนาดของปลา เมื่อปลาโตเต็มที่ ปลาส่วนใหญ่ที่อยู่ในตู้ของผู้ขายเป็นปลาวัยรุ่นเมื่อนำมาเลี้ยงในตู้ปลาของเราเวลาปลาโตเต็มที่อาจมีขนาดยาวถึง 5 นิ้วฟุต หรือบางชนิดเมื่อโตเต็มที่อาจมีขนาดยาวเพียง 1-5 นิ้วฟุต ถ้านำปลามาเลี้ยงรวมกัน ปลาใหญ่ก็จะรักแกปลาเล็ก เพราะฉะนั้นเวลาซื้อปลาควรถามเจ้าของให้รู้แน่เสียก่อนว่าปลามีขนาดเท่าใดขณะโตเต็มที่และไม่ควรเลี้ยงปลาที่ขนาดต่างกันมาไว้ในตู้เดียวกัน ปลาที่อยู่ในตู้เดียวกันจะต้องเป็นปลาที่มีขนาดใกล้เคียงกันเมื่อโตเต็มที่
2. ประเภทของปลา ควรระวังในการซื้อปลา เพราะหากผู้เลี้ยงไม่มีความรู้เกี่ยวกับประเภทของปลา อาจซื้อปลาที่ออกหากินเวลากลางคืน ในเวลากลางวันมันจะหมกซ่อนตัวอยู่ตามต้นพืชและลังก้อนหินตลอดเวลา แทนที่จะได้ชมเล่นในเวลากลางวันกลับไม่ได้เห็นปลาเลย
ประเภทของปลาตู้
ปลาที่เลี้ยงกันตามตู้เลี้ยงปลาทั่วไป แบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี
1. ปลาที่ชอบรวมกลุ่มกันอยู่ ได้แก่ ปลาหางนกยูง ปลาเทวดา ปลาหางดาบ ปลาม้าลาย เป็นต้น เมื่อซื้อปลาประเภทนี้ จึงไม่ควรซื้อ 1-2 ตัว แต่ควรซื้อมาเลี้ยงอย่างน้อย 5-6 ตัว
3. ปลาที่ต้องแยกพวกเลี้ยง ปลาพวกนี้ต้องการตู้เลี้ยงพิเศษ เพราะส่วนมากไม่ชอบรวมกลุ่ม ได้แก่ ปลาปอมปาดัวร์ลายน้ำเงิน ปลาออสการ์ ปลาหางพิณ และปลาลายตลก เป็นต้น บางชนิดก็เป็นปลาที่ชอบเก็บตัวในเวลากลางวัน ถ้าจะเลี้ยงปลาประเภทนี้ต้องแยกพวกเลี้ยงในตู้ปลาต่างหาก อย่าเลี้ยงรวมกับปลาที่ชอบอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม
วิธีสังเกตปลาที่สมบูรณ์ดี
ปลาน้ำจืดส่วนใหญ่ถ้าสมบูรณ์ดีไม่มีโรค จะมีครีบหลังตั้งเสมอขณะว่ายน้ำ ถ้าปลาตัวใดว่างน้ำโดยมีครีบหลังตกแสดงว่าปลากำลังเป็นโรค และปลาที่สมบูรณ์ดีควรจะมีตัวอิ่มเต็ม ครีบหลังไม่แตก สีควรเข้ม ถ้าเป็นปลาที่มีลายสีหรือแต้มลายสี แต้มควรจะเด่น ไม่มีลายและแต้มที่พร่ามัว เวลาว่ายน้ำควรจะคล่องแคล่วปราดเปรียว นอกจากนี้ ควรจะสามารถลอยน้ำในน้ำลึกได้ทุกระดับโดยปราศจากอาการทะลึ่งขึ้นสู่พื้นน้ำ หรือจมดิ่งลงสู่กันอ่างในลักษณะที่ไม่ขยับตัว
ปลาที่มีลักษณะบกพร่อง รวมทั้งปลาที่มีครีบหางขาด และมีจุดที่แสดงว่าเป็นแผล ไม่ใช้ปลาที่สมบูรณ์ดี
การเคลื่อนย้ายตัวปลาและปล่อยปลาลงตู้
ตามปกติการเคลื่อนย้ายปลาจากที่ซื้อไปถึงบ้าน จะนิยมใส่ถุงพลาสติกและจะต้องทำโป่งบรรจุอากาศเหนือพื้นน้ำพอสมควร ถ้าซื้อปลาในฤดูหนาวกว่าที่ปลาจะถึงบ้านน้ำในถุงอาจจะเย็นลง ดังนั้นจึงควรนำกระดาษหนังสือพิมพ์หุ้มถุงไว้อีก เพื่อป้องกันมิให้อากาศเย็นภายนอกกระทบถุงพลาสติกและทำให้น้ำเย็นลงโดยเร็วได้ หรือถ้าจะให้ดีควรเอาถุงไว้ในกล่องกระดาษแข็งที่อากาศเข้าไม่ได้ ก็จะช่วยให้ปลาที่เราเคลื่อนย้ายไม่กระทบกระเทือนความเย็นได้
เมื่อนำปลาที่ต้องการไปถึงบ้านแล้ว อย่ารีบปล่อยปลาลงตู้ทันที เพราะน้ำในถุงกับน้ำในตู้เลี้ยงปลาอาจมีอุณหภูมิต่างกัน ดังนั้น การปล่อยปลาลงตู้จะต้องแน่ใจว่าน้ำในถุงกับน้ำในตู้มีอุณหภูมิใกล้เคียงกัน โดยการเอาถุงปลาลอยแช่น้ำไว้ในตู้ปลาสักครู่ เมื่ออุณหภูมิของน้ำได้ระดับเดียวกันแล้วจึงปล่อยปลาออกจากถุงพลาสติกได้
ขณะปล่อยปลาลงตู้ปลา ให้ค่อย ๆ ทำด้วยอาการสงบที่สุด เพื่อมิให้ปลาตื่นและถ้าตู้ปลามีหลอดไฟฟ้าก็ควรจะปิดไฟเสียก่อน เหลือไว้เฉพาะแสงสว่างของธรรมชาติเท่านั้น เพื่อปลาจะได้คุ้นกับสภาวะแวดล้อมใหม่ได้ง่ายถ้าตู้ปลาสว่างมากเกินไปปลาอาจจะตกใจ และเมื่อปลาคุ้นกับสภาพแวดล้อมดีแล้วจึงค่อยเปิดไฟ
การนำปลามาปล่อยในตู้ปลาขณะที่มีปลาอื่นอยู่แล้ว เราควรให้อาหารเพื่อล่อปลาที่อยู่ก่อนไม่ให้ไปสนใจกับปลาใหม่มากนัก ไม่เช่นนั้นปลาใหม่อาจจะตื่นและว่ายหนีไปหาที่ซุกซ่อนตัว ซึ่งเราจะต้องจัดที่กำบังหลบซ่อนไว้ให้ด้วย จนเมื่อปลาใหม่คุ้นกับสภาพแวดล้อมในตู้ปลาดีพอก็จะเริ่มออกมาหาอาหารเองได้
รูปลักษณะอวัยวะปลา ในการเลือกหาปลาเพื่อเลี้ยงนั้นควรจะมีความรู้ในรูปลักษณะของปลาพอสมควรซึ่งจะเป็นการช่วยให้การเลือกปลาได้ดียิ่งขึ้นปลาแต่ละชนิดไม่ได้มีรูปลักษณะเพรียวยาวเหมือนกันทุกตัว บางชนิดก็มีลำตัวป้อม สั้น บางชนิดตัวแบน บางชนิดตัวกลม ทั้งนี้ สุดแต่นิสัยความเป็นอยู่และการเลี้ยงชีพของปลาแต่ละชนิด ปลาที่มีลำตัวเพรียวยาว แสดงว่าปลาชนิดนั้นว่ายน้ำเร็ว ปลาพวกนี้จะมีครีบใหญ่ มีปากและฟันซี่โต เป็นปลาที่ชอบหากินในที่โล่ง ส่วนปลาเทวดามีลำตัวแบนรู้สี่เหลี่ยมว่ายน้ำได้อย่างเชื่องช้า ชอบอาศัยอยู่ตามกอหญ้าใต้น้ำ ลักษณะของปลามักจะบอกถึงระดับของน้ำที่ปลาอยู่โดยทั่ว ๆ ไป เช่น
ปลาที่มีปากแบน แสดงว่าปลาชนิดนั้นอาศัยอยู่ใต้พื้นน้ำเพียงเล็กน้อยเพราะต้องลอยตัวคอยกินแมลงตามผิวน้ำ ปลาจำพวกนี้ตามปกติมีครีบหลังตรงพื้นครีบไม่โก่งงอ
ปลาที่มีปากยื่นตรง ตามทางนอนในแนวเดียวกันกับกึ่งกลางตัวจะเป็นปลาที่อาศัยอยู่ในระดับน้ำกลาง ๆ เพราะปลาพวกนี้จะงับกินแต่อาหาร ที่ตกถึงพื้นเป็นส่วนใหญ่ แม้ว่ามันอาจจะขึ้นกินอาหาร หรือดำลงกินที่ก้นน้ำได้ก็ดี
ปลาที่มีปากห้อย เป็นปลาที่ชอบอยู่กับก้นน้ำ เพาะกินอาหารตามพื้นผิวดินใต้น้ำเป็นหลัก ปลาจำพวกนี้ชอบกินตะไคร่น้ำตามพื้นดิน และที่อยู่ในตู้ปลา มันอาจไม่ลงถึงก้นตู้ แต่ชอบแอบตามข้างตู้เพื่อกินตะไคร่น้ำที่ติดตามข้างตู้กินเป็นอาหาร ปลาประเภทนี้มักมีหนวดด้วย เพราะหนวดจะไประโยชน์ในการเสาะหาอาหาร
เกล็ดปลา
เกล็ดปลามีทั้งชนิดแข็งและอ่อนซึ่งนอกจากจะทำหน้าที่ป้องกันอันตรายแก่ตัวปลาแล้ว ยังทำหน้าทั่วเป็นเครื่องรับแรงดันของอากาศด้วย เพราะฉะนั้นถ้าปลามีรอยถลอก หรือเป็นแผลก็แสดงว่าแรงดันของอากาศภายในผิดปกติปลาจึงเป็นโรค
ครีบ
ปลาใช้ครีบเพื่อการทรงตัว และเคลื่อนไหวในบางกรณีก็จะใช้เป็นเครื่องช่วยในการออกไข่ด้วย ซึ่งอาจเป็นตอนผสมพันธุ์ หรือตอนฟักไข่เป็นตัว
สีสันของปลา
สีสันของปลานอกจากสร้างความสวยงามแล้ว ยังบอกลักษณะเฉพาะของชนิดโดยทั่วไป บอกเพศโดยเฉพาะ และเป็นสีที่อาจลวงตาศัตรูให้พร่าพราว ช่วยให้มันหนีได้โดยสะดวก หรืออาจทำให้ศัตรูเกิดสำคัญผิดในเป้าหมายที่จะโจมตีก็ได้ หรือสำคัญว่าเป็นสิ่งมีพิษก็ได้ นอกจากนี้ สีอาจบอกอารมณ์ของปลาในเวลาตกใจ หรือเวลาโกรธอีกด้วย
สีบอกเพศ ความเข้มของสีปลามักจะมีมากขึ้นในปลาตัวผู้ในระยะผสมพันธุ์ ทั้งนี้เพื่อให้สะดุดตาตัวเมียและล่อตัวเมียให้เข้าหา หรือเป็นสัญญาณให้ตัวเมียยอมคลอเคลียด้วย
เราอาจรู้เพศของปลาที่ออกลูกเป็นตัวได้ โดยดูที่ครีบทวาร ซึ่งครีบตัวผู้จะมีรูปย้วยกว่าครีบตัวเมีย ส่วนปลาที่ออกลูกเป็นไข่ ตัวผู้จะมีตัวเรียวกว่า
อาหารปลา
เรารู้กันมาว่า ลูกน้ำ ไรน้ำ และแมลงบางชนิดเป็นอาหารของปลาทั่วไปแต่ปลาต่างชนิด ต่างก็ชอบอาหารผิดกันไป บางชนิดชอบกินลูกน้ำ บางชนิดชอบกินพืชพวกตะไคร่น้ำ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าปลาชนิดไหนชอบกิจอาหารจำพวกไหน ปัจจุบันนี้ปัญหาการให้อาหารปลาไม่มีแล้ว เพราะได้มีการทำอาหารปลาขายกันในท้องตลาดอย่างกว้างขวางในรูปลักษณะต่าง ๆ กันไม่ว่าจะเป็นอาหารสำหรับปลาที่ชอบกินสัตว์หรือกินพืช ซึ่งอาหารสำเร็จรูปที่ทำกันขึ้นมาจำหน่ายนั้น จะเป็นรูปลักษณะที่เป็นเกล็ดบ้าง เป็นเม็ดบ้าง เป็นน้ำบ้าง เป็นผงบ้า ตลอดจนเป็นก้อนก็มี อาหารเหล่านี้ทำขึ้น เพื่อให้เหมาะสำหรับใช้เลี้ยงปลาทุกขนาดตั้งแต่ตัวอ่อน ซึ่งจำเป็นต้องกิจอาหารขนาดใหญ่ ๆ ได้อย่างสบาย แม้ว่าอาหารที่ผลิตออกจำหน่าย จะเป็นชนิดดีมีคุณค่า ควรแก่การเลี้ยงปลาก็ดี แต่การเลี้ยงปลาชนิดเดียว จำเจ ก็อาจทำให้ปลาเบื่ออาหารชนิดนั้น อันตรายที่สำคัญก็คือการให้อาหารเกินขนาด ทั้งนี้มิได้หมายความว่าจะทำให้ปลาอ้วนเหมือนคนที่กินจุ แต่ปัญหาอยู่ที่ว่า การให้อาหารจำเจก็ดี การให้อาหารเกินขนาดก็ดี จะทำให้อาหารเหลือตกค้างแล้วทำให้น้ำเน่าเสีย
หลักสำคัญก็คือ การให้อาหารแต่พอกินโดยให้ทีละน้อย เพื่อให้ปลากินอาหารให้หมดทันทีอย่าให้เหลือ และควรให้อาหารปลาในตอนเช้า - กลางวัน - เย็น และกลางคืนตามลักษณะนิสัยของปลาแต่ละชนิด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น