โรคปลาสวยงาม วิธีการป้องกันรักษาและแหล่งจำหน่ายปลาตู้ |
โรคปลาตู้และวิธีการป้องกันรักษา
โรคปลาตู้เกิดขึ้นได้ด้วยสาเหตุหลายประกาน เช่น เกิดจากเชื้อโรค พวกปรสิต บัคเตรีและเชื้อรา สภาพแวดล้อมในตู้ปลาที่ไม่เหมาะสม เช่น มีออกซิเจนในน้ำน้อยไป อุณหภูมิของน้ำเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หรือให้อาหารมากจนหรือทำให้น้ำเน่าเสียหรือไม่ก็ไม่ยอมเปลี่ยนถ่ายน้ำ เมื่อปลาขับถ่ายของเสียออกมามาก ทำให้น้ำมีแอมโมเนียสูง สาเหตุต่างๆ เหล่านี้หากไม่รุนแรงนักจะไม่ทำให้ปลาตายโดยตรงแต่จะเป็นสาเหตุที่ทำให้ปลาเครียดทำให้ปลาอ่อนแอไม่สมบูรณ์เท่าที่ควร และยังมีภูมิต่างทานโรคลดน้อยลงทำให้เกิดโรคต่างๆ ได้ง่าย เท่าที่พบในปัจจุบัน คือ
1. โรคจุดขาว เป็นโรคที่เกิดขึ้นเป็นประจำกับปลาตู้ และระบาดได้รวดเร็วมาก การป้องกันรักษา ใช้ฟอร์มาลีนเข้มข้นผสมกับมาลาไคท์กรีน แช่ติดต่อกัน 3-5 วัน จึงเปลี่ยนน้ำในตู้ปลา
2. โรคสนิม ถ้าส่องกล้องจุลทรรศน์จะเห็นเหมือนมีฟองสบู่อยู่มากกมายมักเกาะอยู่ตามบริเวณเหงือกและผิดหนัง ถ้ามีมากจะเหมือนกำมะหยี่สีเหลืองปนน้ำตาล กระจายเป็นหย่อมๆ เป็นอันตรายมากกับลูกปลาขนาดเล็ก ปัจจุบันพบมากในปลาตาแดงและปลาทรงเครื่อง
การป้องกันรักษา ควรใช้เกลือแกงเข้มข้น 1 % แช่ปลาไว้นาน 24 ชั่วโมง และทำช้ำทุก 2 วัน จนกว่าโรคจะหาย
3. โรคเห็บระฆัง มักจะพบตามบริเวณลำตัว ครีบ และเหงือก โดยจะทำให้เกิดเป็นแผล มีเมือกมาก ผิวหนังเกิดเป็นหวงขาวๆ เกล็ดหลุด ครีบขาดกร่อน เหงือกถูกทำลาย มีอันตรายต่อปลามาก ถ้าเป็นปลาขนาดเล็ก อาจทำให้ปลาตายได้ในระยะเวลาสั้น การป้องกันรักษา ใช้ฟอร์มาลีนเข้มข้น แช่นานตลอดไปจนกว่าปลาจะหาย
4. โรคที่เกิดจากปลิงตัวใส มีขนาดเล็ก 2-3 มิลลิเมตร ส่วนหัวเป็นแฉก ส่วนท้ายจะเป็นอวัยวะยึดเกาะมีหนามเล็กรอบๆ เมื่อเกาะที่ตัวปลาบริเวณใด ผิวหนังของปลาบริเวณนั้นจะเกิดเป็นแผล ถ้าเกาะมากๆ เข้าก็อาจทำให้ปลาตายได้ โดยเฉพาะปลาขนาดเล็ก การป้องกันรักษา ใช้ฟอร์มาลีนเข้มข้น แช่ไปตลอดจนกว่าปลิงตัวใสจะตายหมด
5. โรคที่เกิดจากหนอนสมอ หนอนสมอมีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกขนาด 1-4 มิลลิเมตร ส่วน หัวคล้ายสมอทำหน้าที่ยึดเกาะตัวปลา ทำให้บริเวณที่เกาะเกิดเป็นแผลที่อาการตกเลือด เนื่องจากหนอนสมอมีขนาดค่อนข้างใหญ่ จึงสามารถจับหนอนสมอออกได้ แต่ส่วนหัวจะขาดฝังอยู่ใต้ผิดหนังของปลา การป้องกันรักษา ใช้ Dipterex เข้มข้น แช่นาน 24 ชั่วโมง เว้น 5-6 วัน ให้แช่น้ำยาดังกล่าวซ้ำอีก 3-4 ครั้ง
6. โรคที่เกิดจากเห็บปลา เห็บปลามีขนาดใหญ่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ลำตัวแบนกลม ด้านหลังโค้งมนแบ่งเป็นปล้องเชื่อมติดต่อกัน ปากทำหน้าที่ดูดเกาะ มักพบกับปลามีเกล็ด ไม่เกาะอยู่กับที่แต่จะเคลื่อนที่ไปเรื่อยๆ หรือออกจากปลาตัวหนึ่งไปเกาะปลาอีกตัวหนึ่ง การป้องกันรักษา ใช้ Dipterex เข้มข้น แช่นาน 24 ชั่วโมง
7. โรคที่เกิดจากบัคเตรี ปลาจะมีลักษณะตกเลือดบริเวณผิดหนังและอวัยวะภายใน เช่น ตับ ไต หรือผิวหนังจะเป็นรอยด่างและเริ่มเป็นขุยยุ่ยเหงือกเน่า การป้องกันรักษา ใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น ออกซิกาตราไซคลิน หรือคลอแรมพินิคัล ผสมลงในน้ำตู้ปลา หรือใช้เกลือแกงผสมลงในน้ำก็ได้ โดยประมาณ
8. โรคที่เกิดจากไวรัส ปลาจะเกิดเป็นตุ่มนูนของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ทั้งบนลำตัวและครีบ พบมากกับปลาน้ำกร่อย โรคนี้ไม่ต้องรักษาก็สามารถหายเองได้ถ้าสภาพแวดล้อมภายในตู้ปลาดีขึ้น เช่น เปลี่ยนถ่ายน้ำเป็นประจำ หรือมีแสงเข้าถึงเป็นเวลา เป็นต้น
9. โรคเนื้องอกในปลา พบมากในปลาทอง และปลาไน ลักษณะอาการมักเห็นเป็นกลุ่มเซลล์เจริญขึ้นมาเป็นปุ่มปมขนาดใหญ่ ตามบริเวณลำตัวหรือเกิดภายในช่องท้อง ตุ่มนี้มักจะนิ่ม สาเหตุการเกิดยังไม่ทราบแน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าสภาวะแวดล้อมที่เสื่อมโทรม สารมลพิษจะไปกระตุ้นทำให้เชลล์เกิดการแบ่งตัวอย่างผิดปกติ ยังไม่มีวิธีรักษาที่ได้ผลเคยมีการทดลองตัดตุ่มที่เกิดขึ้นตามบริเวณผิดหนังออก แต่ปรากฏว่าต่อมาก็จะเจริญขึ้นมาใหม่ และจำนวนปุ่มปมจะเพิ่มจำนวนขึ้นมากอย่างรวดเร็ว
แหล่งจำหน่ายปลาตู้
ปลาตู้จะมีจำหน่ายโดยทั่วไปตามแหล่งตลาดค้าขายของต่างๆ ประจำอำเภอ จังหวัด และภายในกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะภายในกรุงเทพมหานครจะมีแหล่งรับซื้อพันธุ์ปลาตู้จากแหล่งเพาะเพื่อนำเอาไปจำหน่ายต่ออีกทอดหนึ่งการจำหน่ายจะมีทั้งการจำหน่ายส่งและจำหน่ายปลีก ปลาตู้จะมีราคาในแต่ละแหล่งไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับแหล่งที่มีการเพาะพันธุ์มากหรือน้อย ตลอดจนความนิยมเลี้ยง ถ้ามีผู้นิยมเลี้ยงมากก็จะมีพ่อค้านำปลาไปจำหน่ายมาก อาจจะมีหลายเจ้าทำให้เกิดการแข่งขันกันราคาอาจจะถูกลง แต่ถ้าแหล่งไม่มีการจำหน่ายแข่งขันกันราคาอาจจะแพงไปบ้างตลาดที่จำหน่ายปลาตู้แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ
1. ตลาดภายในประเทศ ได้แก่ ตลาดภายในแหล่งต่างๆ ภายในอำเภอและจังหวัด และตลาดภายในอำเภอและจังหวัด และตลาดภายในกรุงเทพฯ เช่น ตลาดสวนจตุจักร ตลาดบางใหญ่ ซิตี้ จังหวัดนนทบุรี เป็นต้น
2. ตลาดต่างประเทศ จะมีทั้งตลาดภายในทวีปเอเชีย ยุโรป อเมริกา และอื่นๆ ราคาขายปลาสวยงามจะขึ้นอยู่กับชนิด พันธุ์ และขนาดของปลาการขายส่งจะมีราคาถูกกว่าการขายปลีก แต่การขายส่งจะดีกว่าการขายปลีกคือขายได้แต่ละครั้งมีจำนวนมาก หรือมีผู้สั่งไว้ล่วงหน้าทำให้ผลิตได้มากตามตลาดต้องการ ส่วนการขายปลีกจะขายได้จำนวนน้อย แต่มีราคาต่อหน่วยแพงกว่าการขายส่ง เช่น ปลาเงิน ปลาทอง ซื้อปลีกอาจจะตัวละ 30 บาท แต่พ่อค้าขายปลีกไปซื้อจากพ่อค้าขายส่งมาเป็นจำนวนมาก อาจจะราคาเพียงตัวละ 10-12 บาทเท่านั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น