วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2554

สิ่งต่างๆในตู้ปลา

สิ่งต่างๆในตู้ปลา

ปลากับตู้ปลาเกี่ยวข้องสัมพันธ์อย่างเเยกไม่ออกผู้ที่รักปลาเเละสนใจที่จะเลี้ยงปลาควรเริ่มจากการถามตัวเองว่า"รักชอบปลาอะไรเป็นพิเศษ" เพื่อที่จะสนใจหาความรู้เกี่ยวกับปลาชนิดนั้นเลือกสรรอุปกรณ์ที่เหมาำะสมให้ปลาได้มาอยู่อาศัย และเหมาะสำหรับคนที่จะเลี้ยงดูปลาได้อย่างเพลิดเพลิน เจริญใจ ปลอดภัย และสวยงาม

ผู้ที่เลี้ยงปลาสามารถเลือกภาชนะที่จะนำมาใช้เลี้ยงปลา ซึ่งมีอยู่หลายประเภทได้ตามรสนิยม ตามประเภทของปลา ภาชนะที่ใช้เลี้ยงปลาอาจเป็นตู้ปลา โหลเเก้ว หรือ อ่างซีเมนต์ แต่ส่วนใหญ่เเล้วการเลี้ยงปลาในตู้กระจกจะได้รับความนิยมมากที่สุดเนื่องจากสามารถเห็นตัวปลาได้ชัดเจนมากกว่า

ตู้ปลา มีหลายชนิดมากมายและมีหลายเเบบ เช่น ตู้ปลามีขอบ เป็นตู้กระจกที่มีขอบเป็นอะลูมิเนียม สังกะสี หรือ ตู้ปลาเเบบไม่มีขอบ เป็นตู้กระจกที่ต่อด้วยกาวซิลิโคนไม่มีขอบ ซึ่งเป็นเเบบตู้ที่กำลังได้รับความนิยมเนื่องจากทำให้ดูโปร่งใสสวยงามปลาจะแลดูเด่นชัดขึ้น

ฝาครอบโคมไฟ ฝาครอบตู้ปลาจะช่วยป้องกันปลาในตู้กระโดดออกมานอกตู้ช่วยควบคุมการระเหยของน้ำ ป้องกันฝุ่นละออง เขม่าควันจากภายนอกเข้าตู้ปลา ป้องกันอันตรายให้กับปลาในตู้มิให้ถูกแมวหรือแม้แต่คนรบกวน

ฝาครอบอาจเป็นกระจกธรรมดาก็ได้ แต่ปัจจุบันเป็นฝาครอบโคมไฟในตัวออกแบบให้สวยงามจากพลาสติกมีสี ให้เลือกได้มาก โคมไฟใต้ฝาครอบเป็นเเหล่งกำเนิดแสงสว่าง เพื่อให้มองเห็นปลาได้เด่นชัดขึ้น และเป็นสิ่งจำเป็นแก่พืชน้ำในการสังเคราะห์แสง ฝาครอบโคมไฟที่ดีจำเป็นต้องมีแผงกันน้ำไม่ให้กระเด็นเข้าไปถูกหลอดไฟ

หลอดไฟที่ใช้ส่วนใหญ่จะใช้หลอดฟลูออเรสเซน เนื่องจากมีความทนทานและดูสวยงามหลอดฟลูออเรสเซนที่นิยมใช้เป็นหลอดที่เรียกว่า หลอดนีออนแดดเทียม ให้แสงนวลตาเพิ่มสีสันให้แก่ตัวปลาทำให้ปลาดูสวยงามมา

ขาตั้งตู้ปลา ขาตั้งตู้ปลาจะต้องมีความแข็งแรงและมีฐานที่เรียบเสมอสำหรับวางโดยเฉพาะตู้ที่ไม่มีขอบควรใช้แผ่นโฟมรองพื้นตู้ทุกครั้ง หากจำเป็นต้องคำนึงถึงน้ำหนักของตู้ปลาว่าสามารถรับน้ำหนักได้ ตู้ปลาเมื่อเราใส่กรวดหินและน้ำแล้่วจะมีน้ำหนักมาก

ขาตั้งตู้ปลาที่นิยมใช้ส่วนใหญ่เป็นขาเหล็กหรือขาไม้ ซึ่งอาจเป็นแบบเรียบ ๆ หรือ มีลวดลายหลายแบบที่ผู้ขายทำมารับกับตู้ปลาขนาดต่างๆ พอดี

ระบบกรองน้ำ ปลาต้องกินอาหาร และจำเป็นต้องขับถ่ายของเสีย เมื่อน้ำในตู้ปลามีของเสียะสมอยู่มากก็จะเป็นพิษต่อปลา ทำให้ปลาไม่สบาย ป่วย จนถึงตายได้ จึงต้องมีการกำจัดของเสียออกไป

การกำจัดของเสียอาจใช้วิธีเปลี่ยนน้ำบางส่วนพร้อมกับดูดตะกอนของเสียทิ้งไป ทำให้เจือจางลง ช่วยให้น้ำในตู้ปลาใสสะอาดตลอดเวลา แต่หากไม่ต้องการเปลี่ยนน้ำบ่อยๆ ควรใช้ระบบกรองน้ำ

ระบบกรองน้ำมีด้วยกันหลายแบบ แบบที่มีประสิทธิภาพดีและเป็นที่นิยมเป็นระบบกรองน้ำแบบแผ่นกรองใต้ทราย( SUB BAND FINTER )
ระบบกรองน้ำชนิดนี้ใช้ประกอบกับกรวด ลักษณะเป็นกล่องพลาสติก ของสูงประมาณ 1 ซม. มีรูพรุน ขอบด้านหนึ่งมีท่อกลวงสำหรับดันน้ำ โดยอาศัยแรงลมจากเครื่องปั๊มอากาศดันน้ำที่อยู่ไชใต้แผ่นกรองขึ้นมาที่ผิวน้ำ เหนือแผ่นกรองจะปูทับด้วยกรวดหนา 2 - 3 นิ้ว เพื่อกักเก็บตะกอนสกปรกต่างๆจากน้ำในตู้ปลาที่จะผ่านลงไปสู่ใต้แผ่นกรอง น้ำจึงใสได้

ระบบกรองน้ำอีกแบบหนึ่งที่มีประสิทธิภาพสูง เหมาะสำหรับเลี้ยงปลาจำนวนมาก หรือเลี้ยงที่มีสิ่งขับถ่ายของเสียมาก เช่น ปลาทอง คือ เครื่องกรองน้ำแบบตั้งนอกตู้ ลักษณะเครื่องกรองชนิดนี้จะมีวัสดุกรองน้ำอยู่ในตัวเครื่อง และมีมอเตอร์ดูดน้ำจากตู้ปลาให้ผ่านเข้ามาในเครื่อง ผ่านวัสดุกรอง แล้วปล่อยน้ำที่ใสสะอาดกลับเข้าไปในตู้ใหม่ ทำให้น้ำใสสะอาด ปริมาณน้ำที่ถูกกรองจะสูงกว่าระบบกรองน้ำทั่วไป

ปั๊มลม ปลาต้องหายใจ ใช้ออกซิเจนเช่นเดียวกับคน ออกซิเจนในน้ำได้จากการละลายของออกซิเจนในอากาศลงไปด้วยการใช้เครื่องปั๊มอากาศลงน้ำ
ปั๊มลมใช้ประกอบกับระบบกรองน้ำแบบพื้นตู้ปลา เป็นสิ่งที่จำเป็นและต้องเปิดใช้ตลอดเวลา ดังนั้นการซื้อปั๊มลมควร จะเลือกอันที่ทีคุณภาพ มีแรงลมมากสม่ำเสมอ

กรวดหิน กรวด, หิน, ทราย, ขอนไม้ เป็นวัสดุที่ใช้ตบแต่งตู้ปลา ทำให้ดูเป็นธรรมชาติ กรวดใช้ประกอบกับแผ่นกรองแบบใต้ทราย เป็นที่ยึดเกาะของรากต้นไม้น้ำ นิยมใช้กรวดคว๊อท หรือ กรวดดำจะทำให้ตู้ปลาดูเป็นธรรมชาติ ก้อนหิน รากไม้ ขอนไม้ ใช้ตกแต่งตู้ปลาได้เช่นกัน ก้อนหินควรเป็นชนิดที่ไม่เป็นหินปูน เพื่อไม่ต้องการให้ละลายน้ำ ส่วนรากไม้ ขอนไม้ ต้องแช่น้ำให้สีในเนื้อไม้ออกหมดก่อนจึงไม่เป็นผลเสียต่อปลา

สิ่งของประดับตกแต่งอื่น ๆ ที่จะนำมาประดับตู้ควรเลือกชนิดที่ไม่มีชิ้นส่วนคม สีไม่ลอกง่าย และไม่เป็นโลหะสนิม

ของเบ็ตเตล็ด นอกเหนือจากอุปกรณ์ที่กล่าวมาแล้ว ของเบ็ดเตล็ดบางอย่างใช้เสริมเพื่อให้ตู้ปลาสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เช่น แผ่นวิวตู้ปลา ใช้ติดหลังตู้เพื่อให้ดูสวยงาม , ฮีทเตอร์ทำความร้อน, เทอร์โมมิเตอร์ช่วยปรับอุณหภูมิ, กระชอนขนาดต่างๆ

ควรมีปลั๊ั็๊กไฟไว้ใกล้ตู้เพื่อความสะดวกในการต่อโคมไฟและอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ

การคัดเลือกปลา

การเลือกปลาสวยงาม นอกจากชนิดของปลาที่ผู้เลี้ยงต้องเลือกแล้ว สุขภาพของปลาที่จะซื้อหามาเลี้ยงก็เป็นส่วนหนึ่งของการเลือกปลา เนื่องจากในปัจจุบันแหล่งซื้อขายปลา ตลาดนัดปลาต่างๆ จะมีการขนส่งปลามาจากฟาร์ม หรือบ่อเลี้ยงที่อยู่ห่างไกล การขนส่งปลาทำให้ปลาเกิดความเครียด ป่วยเป็นโรค เมื่อนำมาเลี้ยงก็จะอยู่ได้ไม่ทน อายุไม่ยืน เลี้ยงได้ไม่นานก็ตาย

การเลือกซื้อปลาจะต้องคำนึงถึงสิ่งสำคัญต่อไปนี้
1. ควรเลือกปลาที่เลี้ยงง่าย ตายยาก ราคาถูก เลือกซื้อปลาที่มีขนาดเล็กหรือขนาดกลาง ซึ่งจะบอบช้ำระหว่างเดินทางน้องกว่าปลาขนาดใหญ่และปรับตัวเข้ากับที่อยู่ใหม่ได้ไวกว่า คุ้นเคยกับปลาตัวอื่นหรือชนิดอื่นได้ง่าย ไม่รังแกกัน และมีภาระในการเลี้ยงดูน้อยกว่าปลาใหญ่ ทั้งในเรื่องอาหาร การทำความสะอาดตู้ เมื่อมีประสบการณ์ค่อยเลือกเลี้ยงปลาขนาดใหญ่ หรือปลาชนิดที่เลี้ยงยากต่อไป

2. ไม่ซื้อปลาที่ป่วย ปลาป่วยเป็นปลาสุขภาำพไม่ดี สิ่งที่สังเกตได้ง่ายๆ มีหลายประการ
ประการแรก ควรสังเกตการว่ายน้ำของปลา ปลาที่ลอยเท้งเต้งอยู่แต่ที่ผิวน้ำ ทำตาลอย หรือทรุดหัวทิ่มอยู่กับพื้นทรายไม่ใช่ปลาที่แข็งแรงอย่างแน่นอน
ประการที่สอง ต้องดูสภาพปลาและรูปร่างตัวปลาไม่ควรเลือกซื้อปลาที่เป็นแผล มีจุดขึ้นตามตัว ตัวช้ำ บวมพอง เกล็ดเปิด ครีบและหางฉีกเปื่อยขาด ปลาที่มีครีบลู่ติดตัวแสดงว่าไม่สบาย
ประการที่สาม ควรดูพฤติกรรมของปลา ไม่ควรซื้อปลาที่ซึมและหลบซ่อนอยู่หลังหิน หรือซุกอยู่ตามมุมของตู้ปลา

3. เลือกปลาที่มีสุขภาพดี มีรูปร่างถูกต้องตามลักษณะสายพันธุ์ ตัวตรงไม่คดหรือโก่ง ปลาที่มีสุขภาพดีดูได้จากการเคลื่อนไหวไปมาอยู่ตลอดเวลาอย่างกระฉับกระเฉง ไม่จมหรือลอยนิ่งเป็นเวลานานๆ ทรงตัวอยู่ในแนวปกติสมดุล

4. ไม่ควรซื้อปลาจากตู้ที่มีปลาตายปะปนอยู่ด้วย แม้ว่าปลาตัวที่หมายตาอยู่จะเป็นปลาที่ดูแข็งแรงและปกติดีในขณะนั้น เนื่องจากปลาที่ดูว่าแข็งแรง มีโอกาสติดเชื้อจากปลาที่ตายอยู่ในตู้เดียวกันนั้น

5. ไม่ควรซื้อปลาที่เลี้ยงยาก เช่น พวก Discus หากเป็นมือใหม่จะทำให้หมดกำลังใจ

6. ไม่ควรซื้อปลาเข้าใหม่ ปลาเข้าใหม่หมายถึงปลาที่เพิ่งจับมาได้ แล้วเพิ่งมาส่งที่ร้าน หรือปลาที่เพิ่งรับมาจากฟาร์ม ควรซื้อปลาที่คุ้นเคยกับสภาพน้ำและอากาศที่ร้านแล้ว

การเลี้ยงดู

ปลาที่มาอยู่ใหม่ ต้องการเวลาเพื่อปรับตัวให้เข้ากับที่อยู่ใหม่ แม้ได้กินอาหารไปบ้างแต่จะไม่ย่อย จึงควรงดอาหาร ในวันแรกที่ปล่อยปลา

วันต่อมาจึงเริ่มให้อาหารน้อย ๆ แล้วค่อยๆ เพิ่มขึ้นในแต่ละวัน สังเกตดูว่าปริมาณแค่ไหนที่ปลาจะกินหมดในเวลา 2 - 3 นาที หากมีอาหารเหลือตกค้างควรตักทิ้งไปเพราะจะทำให้น้ำเน่าเสีย ปกติให้อาหารวันละ 2 ครั้ง ในตอนเช้าและตอนเย็น เลือกให้อาหารที่ย่อยง่าย มีคุณค่าครบถ้วน และไม่ทำให้น้ำเน่าเสีย

อาหารสดปลาชอบกิน แต่ต้องระวังการเน่าเสีย เป็นพาหะนำโรคพยาธิมาสู่ปลา อาหารสำเร็จรูปมีหลายแบบ หลายคุณภาพต่างราคา ควรเลือกใช้ชนิดเหมาะสมกับปลาแต่ละประเภท ให้อาหารสดสลับกับอาหารสำเร็จรูป จะช่วยให้ปลาได้รับอาหารที่ย่อยง่ายและมีคุณค่าทางอาหารสูงควบคู่กันไป

ตู้ปลาที่จัดเตรียมเรียบร้อยแล้ว หากเว้นการให้อาหารนานถึง 7 วันปลาที่เลี้ยงก็ไม่อดตาย ทั้งนี้เพราะปลาจะกินพืชและสัตว์เล็กๆ ที่แฝงอยู่ในน้ำนักเลี้ยงปลามือใหม่บางคนอาจไม่เข้าใจธรรมชาติของปลาดีพอจะใส่อาหารไว้ในตู้เลี้ยงมากเกินเพื่อไห้ปลากินได้นานวัน อาหารที่ปลากินไม่หมดในมื้อหนึ่งๆ ก็จะหมักหมมทำให้น้ำในตู้เน่า ปลามากต่อมากที่ต้องตายด้วยสาเหตุนี้ ตามสถิติของนักเลี้ยงปลาตู้ที่ทราบกันมานั้น ปลาที่อดตายมีน้อยกว่าปลาตายเพราะกินอาหารมากหลายเท่านัก

ในตู้ที่เลี้ยงปลาไม่ว่าจะเลี้ยงปลาสวยงามชนิดใดก็ตาม จะเลี้ยงพวกหอย หรือปลากินเศษอาหารรวมไว้ด้วยก็ได้ หอยและปลาเหล่านี้จะทำหน้าที่เหมือนคนเก็บขยะ มันจะกินอาหารที่เหลือจากปลากิน จึงช่วยป้องกันอาหารที่บูดเน่าได้ และยังช่วยกินเศษตะไคร่ที่ขึ้นตามตู้ปลาด้วย แต่ถ้าเลี้ยงปลาและหอยเทศบาลพวกนี้มากเกินไป มันก็จะแย่งอาหารของปลาที่เลี้ยงได้เช่นกัน

โรคปลา

1. โรคจุดขาว เป็นโรคที่เกิดขึ้นเป็นประจำกับปลาตู้ และระบาดได้รวดเร็วมาก
การป้องกันรักษา ใช้ฟอร์มาลีนเข้มข้นผสมกับมาลาไคท์กรีน แช่ติดต่อกัน 3 - 5 วัน จึงเปลี่ยนน้ำในตู้

2. โรคสนิม ถ้าส่องกล้องจุลทรรศน์จะเห็นเหมือนมีฟองสบู่อยู่มากมายมักเกาะอยู่ตามบริเวณเหงือกและผิวหนัง ถ้ามีมากจะเหมือนกำมะหยี่สีเหลืองปนน้ำตาล กระจายเป็นหย่อมๆ เป็นอันตรายมากกับลูกปลาขนาดเล็ก
การป้องกันรักษา ควรใช้เกลือแกงเข้มข้น 1% แช่ปลาไว้นาน 24 ชั่วโมงและทำซ้ำทุก 2 วัน จนกว่าโรคจะหาย

3. โรคเห็บระฆัง มักจะพตามบริเวณลำตัวครีบ และเหงือกโดยจะทำให้เกิดเป็นแผล มีเมือกมาก ผิวหนังเกิดเป็นดวงขาวๆ เกล็ดหลุด ครีบขาดกร่อน เหงือกถูกทำลาย มีอันตรยต่อปลามาก โดยเฉพาะปลาขนาดเล็ก
การป้องกันรักษา ใช้ฟอร์มาลีนเข้มข้น แช่นานตลอดไปจนกว่าปลาจะหาย

4. โรคที่เกิดจากปลิงตัวใส มีขนาดเล็ก 2 - 3 มิลลิเมตร ส่วนหัวเป็นแฉก ส่วนท้ายจะเป็นอวัยวะยึดเกาะมีหนามเล็กรอบๆ เมื่อเกาะที่ตัวปลาบริเวณใด ผิวหนังของปลาบริเวณนั้นก็จะเกิดเป็นแผล
การป้องกันรักษา ใช้ฟอร์มาลีนเข้มข้น แช่นานตลอดไปจนกว่า ปลิงตัวใสจะหายหมด

5. โรคที่เกิดจากหนอนสมอ หนอนสมอมีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก ขนาด 1- 4 มิลลิเมตร ส่วนหัวคล้ายสมอทำหน้าที่ยึดเกาะเป็นตัวปลา ทำให้บริเวณที่เกาะเกิดเป็นแผลมีอาการตกเลือด เนื่องจากหนอนสมอมีมีขนาดค่อนข้างใหญ่
การป้องกันรักษา ใช้ Dipterex เข้มข้น แช่นาน 24 ชั่วโมง เว้น 5 - 6 วันให้แช่น้ำยาดังกล่าวซ้ำอีก 3 - 4 ครั้ง

6. โรคที่เกิดจากเห็บปลา เห็บปลามีขนาดใหญ่ มองเห็นด้วยตาเปล่า ลำตัวแบนกลม ปากทำหน้าที่ดูดเกาะ มักพบกับปลามีเกล็ดไม่อยู่กับที่จะเคลื่อนที่ไปเรื่อยๆ หรือออกจากปลาัตัวหนึ่งไปเกาะปลาอีกตัวหนึ่ง
การป้องกันรักษา ใช้ Dipterex เข้มข้น แช่นาน 24 ชั่วโมง

7. โรคที่เกิดจากบัคเตรี ปลาจะมีลักษณะตกเลือดบริเวณผิวหนังและอวัยวะภายใน เช่น ตับ ไต หรือผิวหนังจะเป็นรอยด่างและเริ่มเป็นขุยยุ่ย เหงือกเน่า
การป้องกันรักษา ใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น ออกซิกาตราไซคลิน หรือ คลอแรมพินิคัล ผสมลงตู้ปลา หรือใช้เกลือแกงผสมลงในน้ำ โดยประมาณ

8. โรคที่เกิดจากไวรัส ปลาจะเกิดเป็นตุ่มนูนของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ทั้งบนลำตัวและครีบ พบมากกับปลาน้ำกร่อย โรคนี้ไม่ต้องรักษาก็สามารถหายเองได้ ถ้าสภาพแวดล้อมภายในตู้ดีขึ้น เช่น เปลี่ยนถ่ายน้ำเป็นประจำหรือมีแสงเข้าถึงเป็นเวลา

9. โรคเนื้องอกในปลา พบมากในปลาทอง และปลาไน ลักษณะอาการมักเห็นเป็นกลุ่มเซลล์เจริญขึ้นมาเป็นปุ่มขนาดใหญ่ ่ตามบริเวณลำตัวหรือเกิดภายในช่องท้อง ตุ่มนี้มักจะนิ่ม สาเหตุเกิดยังไม่ทราบแน่ชัด ยังไม่มีวิธีการรักษาที่ได้ผล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น