วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2554

การดูแลรักษาคุณภาพน้ำ

การดูแลรักษาคุณภาพน้ำ
Ammonia - แอมโมเนีย

แอมโมเนียหรือ NH3 เป็นหนึ่งในสารที่มีส่วนผสมของไนโตรเจน (Nitrogen compound) ซึ่งเป็นของเสียที่ถูกขับถ่ายออกจากปลาและสิ่งมีชีวิตต่างๆ และเป็นพิษมากต่อปลาและสัตว์ไร้กระดูกสันหลัง มันสามารถจะกำจัดได้ด้วยแบคทีเรีย (Nitrifying Bacteria) ภายในตู้ปลา ซึ่งจะย่อยสลาย NH3 ให้กลายเป็นสารไนไตรท์

NH3 -> Nitrifying Bacteia -> NO2

สาหร่าย zooxanthellae ในปะการังก็มีส่วนในการซึมซับ NH3 เพื่อใช้เป็นปุ๋ย แต่ก็ใช้ในปริมาณที่น้อยมาก

เพราะฉะนั้นระดับ NH3 ในตู้ปลาควรจะวัดได้ศูนย์ (หรือระดับต่ำสุดที่สามารถวัดได้) ถ้าหากมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นกับตู้หรือมีปลาตายโดยไร้สาเหตุ คุณควรจะวัดระดับแอมโมเนียเป็นขั้นตอนแรก

Nitrite - ไนไตรท์

ไนไตรท์หรือ NO2 ก็เป็นอีกหนึ่งของสารที่มีส่วนผสมของไนโตรเจน และเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิต เช่นเดียวกันกับ NH3 แบคทีเรียภายในตู้ปลา (Nitrifying Bacteria) จะย่อยสลาย NO2 ให้กลายเป็นไนเตรต

NO2 -> Nitrifying Bacteria -> NO3

ระดับ NO2 ในตู้ปลาควรจะวัดได้ศูนย์ (หรือระดับต่ำสุดที่สามารถวัดได้)

Nitrate - ไนเตรต

ไนเตรตหรือ NO3 เป็นผลลัพธ์สุดท้ายของกระบวนการย่อยสลายสารที่มีส่วนผสมของไนโตรเจน NO3 ในปริมาณที่ต่ำจะไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์โดยทั่วไป แต่มันก็เป็นปุ๋ยที่สามารถสร้างปัญหาตะไคร่ในตู้ปลาได้และจะทำให้การปะการังแข็งโตช้า

แบคทีเรีย (Denitrifying Bacteria) ที่สามารถย่อยสลาย NO3 ให้เป็นก๊าซ ไนโตรเจน (N) มีความแตกต่างกับ Nitrifying Bacteria ที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นมาก เพราะมันจะอยู่ได้ในพื้นที่ๆมีปริมาณอ๊อกซิเจนต่ำเท่านั้น

NO3 -> Denitrifying Bacteria ->ก๊าซ N (ระเหยออกจากระบบ)


NO3 -> Denitrifying Bacteria ->ก๊าซ N (ระเหยออกจากระบบ)

ในตู้ปลาที่ใช้ระบบกรองแบบธรรมชาติ เช่นการใช้หินเป็นและพื้นทรายที่หนามากกว่า 4 นิ้ว จะสามารถการกำจัด NO3 ได้ดีกว่าระบบที่ใช้ Bio - ball เพราะอัตราในการกำจัดสารต่างๆจะมีความสมดุลย์กัน ในระบบที่ใช้ Bio - ball NH3 และNO2 จะถูกย่อยสลายอย่างรวดเร็วมากจน Denitrifying Bacteria ไม่สามารถตามทันได้ จึงทำให้เกิดการสะสมของ NO3 ในกรณีนี้ การเปลี่ยนน้ำเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะกำจัด NO3

ถึงแม้มันจะไม่เป็นพิษภัยมากนัก เราก็ควรจะควบคุมไม่ให้ปริมาณของ NO3 สูงผิดปกติ ระดับของ NO3 ไม่ควรจะสูงกว่า 10 ppm (2.3 mg NO3-N/L) แต่ถ้าไม่มีเลยก็จะยิ่งดี



Phosphate - ฟอสเฟต

แนวปะการังที่อุดมสมบูรณ์จะมีฟอสเฟต (PO4) ในปริมาณที่จำกัดมาก แต่ในตู้ปลาของเรากลับตรงกันข้าม การให้อาหารและจำนวนปลาที่แออัดสามารถทำให้ PO4 สะสมจนมากผิดปกติได้ ซึ่งจะทำให้ปะการังแข็งไม่สามารถตกผลึก calcium carbonate ได้ตามปกติเป็นผลให้การเจริญเติบโตช้าลง และยังเป็นปุ๋ยให้กับตะไคร่อีกด้วย

ปริมาณของ PO4 ในน้ำไม่ควรจะมากกว่า 0.3 ppm

pH

pH เป็นการวัดความเป็นกรดหรือด่างของน้ำในเสกล 0 (เป็นกรดมากที่สุด) ถึง 14 (เป็นด่างมากที่สุด)

เราควรจะทำให้ pH ของตู้นั้นใกล้เคียงกับธรรมชาติมากที่สุด ซึ่งจะอยู่ระหว่าง 8.2 - 8.4 pH จะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยจะมีค่าสูงสุดในช่วงที่มีแสงไฟและการสังเคราะห์แสงเกิดขึ้นมากที่สุด (ตอนเย็นก่อนปิดไฟ) และต่ำสุดในตอนเช้าก่อนเปิดไฟ pH อาจจะเปลี่ยนแปลงได้ถึงประมาณ 8 - 8.6 ในแต่ระบบ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วไม่ใช่ปัญหาที่น่าเป็นห่วง

ในระยะยาว pH ของตู้มีแนวโน้มที่จะลดลงมากกว่าเพิ่มขึ้น เพราะว่าการหายใจจะทำให้เกิด carbon dioxide และของเสียของสัตว์ในตู้มักจะเป็นกรด เราสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้โดยการเติม Kalkwasser (Calcium Hydroxide) ลงไปเพื่อเพิ่ม Alkalinity

Alkalinity

Alkalinity สำคัญมากสำหรับตู้ปลาทะเล เพราะมันจะบ่งบอกถึงความสามารถในการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงของ pH ในน้ำ Alkalinity ที่สูงกว่าจะทำให้ pH เปลี่ยนแปลงน้อยลงและมีเสถียรภาพมากขึ้น เราสามารถวัด Alkalinity ได้ในสองหน่วยคือ meq/L หรือ dKH (meq/L x 2.8 = dKH)

Alkalinity ของน้ำทะเลจะอยู่ประมาณ 2.5 meq/L แต่เพราะจำนวนสิ่งมีชีวิตที่แออัดในตู้ปลา เราจึงควรควบคุม Alkalinity ให้อยู่ในระดับประมาณ 3.2 - 4.5 meq/L

การเพิ่ม Alkalinity สามารถทำได้โดยการผสมสารเคมีเช่น Kalkwasser (Calcium Hydroxide) หรือ Sodium bicarbonates กับน้ำแล้วค่อยๆเติมลงทีละน้อยหลายๆครั้ง อย่างช้าๆ(มาก) เวลาเติมควรระมัดระวังอย่างมากเพราะสารเคมีเหล่านี้สามารถทำให้ pH เปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วซึ่งอาจทำอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตได้

อุณหภูมิ

ควรจะควบคุมให้อุณหภูมิเหมือนกับแนวปะการังในธรรมชาติ ซึ่งจะอยู่ระหว่าง 27 - 29 C

อ่านเพิมเติมได้ใน ความเค็มและอุณหภูมิของน้ำทะเลในแนวปะการัง

ความเค็ม

เราสามารถวัดระดับความเค็มได้โดยการวัดปริมาณของธาตุต่างๆที่ละลายอยู่ในน้ำ ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือเกลือ และวัดในหน่วย parts per thousand หรือ ppt น้ำทะเบจะมีความเค็มประมาณ 35 ppt โดยเฉลี่ย

การจะวัดความเค็มนั้นทำได้ยากมากและต้องอาศัยเครื่องมือราคาแพง ดัวนั้นเราจึงหันมาวัด specific gravity หรือความถ่วงจำเพาะ ซึ่งเป็นการวัดความเค็มทางอ้อม specific gravity ของน้ำทะเลจะอยู่ประมาณ 1.025 - 1.026 (เปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิ)

อ่านเพิมเติมได้ใน ความเค็มและอุณหภูมิของน้ำทะเลในแนวปะการัง

Calcium - แคลเซี่ยม

แคลเซี่ยม (Ca) เป็นธาตุที่สำคัญมากต่อการเจริญเติบโตของปะการังแข็ง ปะการังจัซึมซับ Ca จากน้ำลงไปยังเนื้อเยื่อและสกัดออกมาเป็นกระดูกหินปูน ปริมาณ Ca ในตู้ปลาที่มีปะการังแข็งอยู่เป็นจำนวนมากจะลดลงได้อย่างรวดเร็วถ้าหากไม่คอยเติมเพิ่ม น้ำทะเลในแนวปะการังตามธรรมชาติจะมี Ca อยู่ประมาณ 400 - 420 ppm เพราะฉะนั้น Ca ในตู้ปลาควรจะอยู่ที่ 400 ppm เป็นอย่างต่ำ โดยที่ระดับ 450 ppm จะดีที่สุด

Ca จะอิ่มตัวในน้ำที่ระดับ 500 ppm หากมากกว่านี้ หากใส่เพิ่มหรือเติมเร็วเกินไปมันจะตกตะกอนออกจากน้ำทันที และจะทำให้ดูเหมือนกับว่ามีหิมะตกอยู่ในตู้ การเพิ่ม Ca ในน้ำมีอยู่หลายวิธี:

Kalkwasser

เป็นวิธีที่นิยมมากที่สุด มันคือผง Calcium Hydroxide ผสมกับน้ำจืด รอจนกระทั่งตกตะกอนแล้วจึงค่อยๆใส่ลงในตู้อย่างช้าๆ(มาก) แทนน้ำที่ระเหยออกไป นอกจากจะเพิ่ม Ca แล้ว มันยังช่วยเพิ่ม Alkalinity ให้อีกด้วย

ส่วนผสม 2 ส่วน

ประกอบไปด้วย carbonate และ calcium เข้มข้นในรูปแบบน้ำ ซึ่งจะบรรจุแยกขวด เวลาใช้ก็ต้องเติมทั้งสองอย่างผลัดกัน ลงในตู้อย่างช้าๆ

Calcium Chloride

สามารถเพิ่ม Ca ในน้ำได้อย่างรวดเร็ว แต่มันจะทำให้เกิดการสะสมของ Chlorine ซึ่งจะทำให้ Alkalinity ลดลงได้

Calcium Reactor

เป็นอุปกรณ์ที่จะช่วยเพิ่ม Ca ให้กับน้ำ โดยการใช้ก๊าซ Carbon Dioxide ทำให้น้ำเป็นกรดอ่อนๆเพื่อไปละลายหินปูน Calcium carbonate


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น