การเพาะพันธุ์ปลาสวยงาม |
ปลาทองหัวสิงห์ญี่ปุ่น จัดเป็นปลาที่มีลักษณะสวยงามไปแทบทุกส่วน เป็นปลาที่นิยมเลี้ยงกันมาก เทคนิคการผสมพันธุ์ปลาทองสิงห์ญี่ปุ่น มีวิธีการคล้ายกับการผสมพันธุ์ปลาสวยงามชนิดต่างๆ แต่เคล็ดลับการผสมพันธุ์ของนักเพาะเลี้ยงด้วยกันย่อมมีวิธีแตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ จากประสบการณ์ที่ได้รับมาก เป็นเครื่องหมายชี้แนวทางที่นำไปสู่ความสำเร็จ ซึ่งจะต้องมีการเตรียมการดังนี้
1. การเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการเพาะพันธุ์
บ่อเพาะพันธุ์ ควรมีขนาดยาวไม่ต่ำกว่า 10 ฟุต กว้าง 5 ฟุต หรือมีความจุน้ำประมาณ 1,500-1,600 ลิตร ควรมีอย่างน้อย 3 บ่อ คือ บ่อวางไข่ บ่ออนุบาลลูกปลา และบ่อเลี้ยง ลักษณะบ่อแต่ละบ่อต้องลาดเทเล็กน้อยทั้งปากบ่อและก้นบ่อ และควรมีความลึกประมาณ 20-30 เซนติเมตร
อ่างเพาะ การเพาะพันธุ์ปลาหัวสิงห์ นิยมเพาะในอ่างที่มีความกว้างยาวและลึก 90x90x20 เซนติเมตร
น้ำ ควรเป็นน้ำสะอาดสำหรับใช้ในการเพาะ น้ำประปาจัดว่าเป็นน้ำที่เหมาะสมและสะอาดที่สุดต่อการเพาะพันธุ์หัวสิงห์ญี่ปุ่น แต่ควรปล่อยน้ำทิ้งไว้ก่อน 1-2 วันเพื่อให้คลอรีนระเหยออกไปก่อน
พันธุ์ไม้น้ำ เตรียมไว้เพื่อให้ปลาใช้อาศัยเป็นที่วางไข่หรือจะใช้เชือกฟางแทนก็ได้ แต่ต้องเป็นเชือกฟางสีขาวมัดเป็นกลุ่มๆ และฉีกเป็นฝอยๆ
ฮีทเตอร์ เทอร์โมมิเตอร์ หลอดแสงแดดเทียม แอร์ปั๊ม อุปกรณ์เหล่านี้ หลักการทำงานก็คล้ายกับการเพาะพันธุ์ปลาชนิดอื่นๆ
2. การเตรียมพ่อ - แม่พันธุ์ การคัดเลือกพ่อ-แม่พันธุ์ที่ดีควรยึดหลักสำคัญดังนี้
1) ควรหลีกเลี่ยงปลาที่เกิดจากครอกเดียวกันมาทำเป็นพ่อ-แม่พันธุ์
2) พ่อ-แม่พันธุ์ที่ดีต้องมีสีสันสวยงามชัดเจน และถูกต้องตามหลักเกณฑ์มาตรฐานสากล
3) พ่อ-แม่พันธุ์ที่ดีควรมีความสมบูรณ์ทางเพศ พร้อมรับการผสมพันธุ์ กระปรี้กระเปร่า ปราดเปรียว
3. การให้อาหาร การให้อาหารแต่ละครั้งควรเป็นอาหารสดเสมอเพื่อให้พ่อ-แม่พันธุ์ พร้อมวางไข่ เช่น ลูกน้ำ หนอนแดง ไส้เดือนน้ำ หนอนขาว ถ้าให้อาหารสำเร็จรูปจะไม่ดี เพราะปลาจะไม่วางไข่ ท้องที่เต่งตึงก็จะมีแต่ไขมันส่วนพ่อปลาก็ไม่คึกคักและไม่สนใจแม่ปลา ถึงจะให้ไข่ก็ให้ในปริมาณที่น้อยหรือไข่จะฟักเป็นตัวอ่อนได้น้อยมาก
4. การเพาะพันธุ์
1) เมื่อได้พ่อ-แม่พันธุ์ตามลักษณะที่พอใจแล้ว ให้นำไปแยกใส่ตู้ฟักไว้ต่างหาและขุนด้วยอาหารสดให้กินอย่างสมบูรณ์
2) ทำความสะอาดอ่างเพาะโดยแช่ด่างทับทิมทิ้งไว้ 1 วัน ล้างด้วยน้ำสะอาดตากแดดให้แห้ง และใส่น้ำที่สะอาดให้ได้ระดับความสูง 30 เซนติเมตร ส่วนบ่อพักก็ควรเติมน้ำระดับเฉลี่ยสูงประมาณ 20 เซนติเมตร
3) ใส่ต้นไม้น้ำลงไปในอ่างเพาะ เพื่อเตรียมที่ไว้ในปลาวางไข่ หรือใช้เชือกฟางสีขาวฉีกย่อยแล้วมัดรวมกันถ่วงด้วยหินแทนพันธุ์ไม้น้ำก็ได้ เราเรียกว่าสร้างรังไข่
4) สำรวจพ่อ-แม่พันธุ์ที่แยกไว้โดยใช้มือสัมผัสบริเวณท้องปลา ถ้าแม่ปลาตัวไหนท้องนิ่ม ก็แสดงว่าพร้อมที่จะวางไข่ ค่อยๆ นำปลามาใส่ในอ่างเพาะที่เตรียมไว้ แล้วนำพ่อปลามาใส่รวมกัน โดยใช่พ่อปลา 2 ตัว ต่อแม่ปลา 1 ตัว เพื่อให้ได้เชื้อของพ่อปลาที่แข็งแรง
5) เมื่อพ่อ-แม่ปลาอยู่ด้วยกัน พ่อปลาจะใช้ปากชนบริเวณท้องตรงช่องทวารหนักเพื่อต้องการผสมพันธุ์ ช่วงนี้แม่ปลาจะว่ายหลบหนีเข้าไปยังรังไข่ พร้อมกับปล่อยไข่ออกมาเป็นกลุ่ม ๆ เกาะติดกับรังไข่ ซึ่ง พ่อปลาก็จะปล่อยน้ำเชื้อผสมไปด้วย
6) คอยสังเกตว่าเมื่อพ่อปลาหยุดไล่แม่ปลา ก็แสดงว่าแม่ปลาวางไข่หมดแล้ว แยกพ่อแม่ปลาออกจากอ่างเพาะไปเก็บไว้ที่บ่อขุน เพื่อให้อาหารต่อไป ถ้าไม่นำออกตอนนี้ พ่อแม่ปลาจะกินไข่ของตนเอง
7) ในบ่อเพาะควรเพิ่มออกซิเจนเบาๆ เป็นจุดๆ และควบคุมระดับอุณหภูมิให้อยู่ประมาณ 20-24 องศาเซลเซียส ประมาณ 3-5 วัน ลูกปลาจะเริ่มออกจากไข่
5. การอนุบาลลูกปลา ช่วง 3-4 แรก ยังไม่ต้องให้อาหารหลังจากนั้นให้อาหารจำพวก ลูกไรแดง หรือไข่สุก (ถ้าเป็นไข่ต้มสุกควรระวังเรื่องน้ำเสียให้มาก ประมาณ 5-6 ครั้ง ต่อวันประมาณ 1 เดือน จากนั้นก็เปลี่ยนจากลูกไรแดงเป็นลูกน้ำหรืออาหารบดสำเร็จรูปผสมสารเร่งโต ประมาณ 2-3 เดือน ลูกปลาจะเริ่มมีสี เราจึงเริ่มคัดตัวที่มีลักษณะดีมาขายหรือเลี้ยงต่อไป ส่วนตัวที่มีลักษณะพิการก็ทำลายทิ้งเสีย
1. การเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการเพาะพันธุ์
บ่อเพาะพันธุ์ เนื่องจากปลาออสการ์มีนิสัยตกใจง่าย ดังนั้นบ่อที่เหมาะในการเพาะพันธุ์จึงควรเป็นบ่อปูนซีเมนต์ จุน้ำไม่น้อยกว่า 300 ลิตรยิ่งกว้างจะยิ่งดี ระดับน้ำภายในบ่อควรมีความสูงเฉลี่ย 50-80 เซนติเมตรภายในแบ่งเป็นช่วงๆ เพื่อการเลือกคู่วางไข่ ส่วนน้ำจะนิยมใช้น้ำประปาที่ปล่อยทิ้งไว้ 2-3 วันแล้ว น้ำเพาะจะต้องมีการถ่ายน้ำเก่าออกตลอดเวลาเพาะปลาออสการ์เป็นปลาที่ชอบน้ำสะอาดเป็นพิเศษ จากนั้นนำวัสดุที่ช่วยกระตุ้นให้ปลาเกิดอาการอยากวางไข่ เช่น อิฐบล็อกหรือแผ่นกระเบื้อง มาวางไว้ในบ่อเพาะ
2. การเตรียมพ่อ-แม่พันธุ์ ควรเลือกปลาที่มีความสมบูรณ์มีสีสดใสชัดเจน อายุราว 8-9 เดือนขึ้นไปนำมาบำรุงด้วยอาหารที่มีคุณภาพจำพวกเนื้อสัตว์ ต่างๆ เพราะจะช่วยให้ไข่เพศเมียและเชื้อเพศผู้แข็งแรงและยังเพิ่มสีสันให้เข้มสดใสขึ้นอีกด้วย
3. การเพาะพันธุ์ เมื่อเตรียมบ่อเพาะพันธุ์ และพ่อ-แม่พันธุ์ปลาแล้วให้นำพ่อ-แม่พันธุ์ลงไปในบ่อ เพื่อให้พ่อ-แม่พันธุ์เลือกคู่กันเอง พ่อปลาจะว่ายรัดปลาเพศเมียที่พร้อมผสมพันธุ์อยู่แล้ว ช่วงนี้พ่อ-แม่พันธุ์จะมีนิสัยดุร้าย ถ้ามีปลาอื่นแปลกปลอมเข้ามาจะโดนกัน หรือโดนไล่มิให้เข้าไปใกล้รังไข่ เมื่อแม่ปลาวางไข่และ พ่อปลาปล่อยน้ำเชื้อลงที่ไข่จนหมดแล้ว ให้แยกปลาทั้งสองจากบ่อพัก หรือย้ายรังไข่ออกมาที่ตู้เพาะฟัก เพราะถ้าพ่อแม่ปลาตกใจ หรือหิวอาจกินไข่ของตัวเองได้
4. การอนุบาลลูกปลา ใน 2-4 วันแรกที่ลูกปลาออกจากไข่ยังไม่ต้องให้อาหาร หลังจากนั้นควรให้ ไข่แดงต้มสุกบดละเอียด แต่ต้องคอยระวังน้ำเสียที่นิยมก็คือการให้ลูกไรแดงหลังจากลูกปลามีอายุ 2 สัปดาห์จึงทำการเปลี่ยนน้ำควรเปลี่ยนน้ำอยู่เสมอ อาจเป็นวันละ 1-2 ครั้ง ยิ่งเปลี่ยนน้ำได้บ่อยก็จะทำให้ปลาเจริญเติบโตเร็วขึ้น หลังจากนั้นก็เปลี่ยนอาหาร จากลูกไรแดงเป็นลูกน้ำ
ปลาสอดแดง เป็นปลาพื้นๆ เหมาะสำหรับคนรักปลาที่อยากเริ่มต้นเพาะพันธุ์ในขั้นแรก เนื่องจากเพาะพันธุ์ง่าย ปลาชนิดนี้ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง และสามารถเลี้ยงรวมกับปลาประเภทอื่นๆ ได้ดี เพราะมีนิสัยไม่เกเร ส่วนมากจะอยู่บริเวณพื้นผิวน้ำ
1. การเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการเพาะพันธุ์ ได้แก่
1) ตู้เพาะพันธุ์หรืออ่างเพาะ
2) พันธุ์ไม้น้ำ
3) ตะแกรง
4) แอร์ปั๊ม
5) กรวดน้ำจืดขนาดเล็ก
ส่วนน้ำที่ใช้เพาะควรมีสภาพค่อนข้างกระด้าง และออกไปทางด่างเล็กน้อย
2. การเตรียมพ่อ-แม่พันธุ์ ผู้เพาะควรคัดเลือกพ่อ-แม่พันธุ์ที่สมบูรณ์มีสีสันสดใสลำตัวใหญ่ครีบต่างๆ ไม่ฉีกขาด และไม่ควรใช่พ่อแม่พันธุ์ที่อยู่ในครอกเดียวกัน ส่วนการดูลักษณะเพศของพ่อ-แม่พันธุ์ที่อยู่ในครอกเดียวกัน ส่วนการดูลักษณะเพศของพ่อ-แม่พันธุ์นั้นจะสังเกตได้ง่ายกว่าปลาชนิดอื่นๆ คือปลาเพศผู้จะมีลำตัวค่อนข้างแบน ปลายหางเรียวยาวยื่นออกมา เรียกว่าหางดาบ ครีบก้นมีลักษณะพุ่งแหลมชี้ขนานไปตามแนวลำตัวเพื่อเป็นอวัยวะสำหรับผสมพันธุ์ ส่วนลักษณะปลาเพศเมียจะมีขนาดลำตัวป้อมสั้นกว่าเพศผู้โดยเฉพาะบริเวณท้องขยายกว้างใหญ่ ครีบหางและครีบก้นจะโค้งมนไม่พุ่งแหลม เหมือนกับเพศผู้
3. การเพาะพันธุ์ การเพาะพันธุ์ปลาสอดทำได้ง่าย โดยการนำตู้เพาะหรืออ่างเพราะที่มีขนาดไม่เล็ก-ใหญ่เกินไป ตั้งให้ถูกแสงแดดตอนเช้า เพื่อให้พันธุ์ไม้น้ำได้รับออกซิเจนบ้าง ตะแกรงที่ใช้ต้องมีความถี่พอกับขนาดของลูกปลาที่สามารถเล็ดลอดออกมาได้ ส่วนความกว้างก็ให้พอกับตู้ ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้พ่อแม่ปลาออกมากินลูกในเวลาหิวได้ ใช้พ่อพันธุ์ 1 ตัว ต่อแม่พันธุ์ 4-5 ตัว เมื่อไข่ฟักเป็นตัวประมาณ 2-3 วัน ก็ช้อนพ่อ-แม่พันธุ์และยกตะแกรงออกจากตู้เพาะหรือ่อนเพาะ
4. การอนุบาลลูกปลา เมื่อลูกปลาออกจากไข่เรายังไม่ต้องให้อาหาร หลังจากนั้น 2-3 วัน จึงให้ ลูกไรแดง และเมื่อลูกปลาโตพอที่จะกินอาหารใหญ่ได้จึงเปลี่ยนเป็นลูกน้ำหรือหนอนแดง พร้อมกับเสริมอาหารประเภทพืชพวกตะไคร่น้ำเพื่อให้ลูกปลาเจริญเติบโตเร็วขึ้น ปลานีออน
ปลานีออนจัดเป็นปลาสวยงามขนาดเล็ก บนพื้นลำตัวมีสีน้ำเงินอมเทาตรงแนวสันหลังสีเขียวอ่อน และมีสีฟ้าเชื่อมติดต่อระหว่างโคนหาง ส่วนโคนครีบหางและครีบอกนะมีสีแดงพาดขนาดลำตัวเมื่อโตเต็มที่จะวัดได้ 1-5 นิ้ว มีนิสัยรักสงบ อาศัยอยู่ผิวน้ำหรือกลางน้ำ ชอบอยู่รวมเป็นฝูงและกินอาหารได้ทุกชนิด
1. การเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการเพาะพันธุ์ เตรียมตู้เพาะพันธุ์หรืออ่างเพาะที่มีขนาดพอเหมาะลักษณะสี่เหลี่ยมผืนผ้า ค่อนข้างแบน จุน้ำประมาณ 60-80 ลิตร ปลูกพันธุ์ไม้น้ำข้างตู้เพาะ หรืออ่างเพาะด้านใดด้านหนึ่งและใส่กิ่งไม้แห้งลงไปเพื่อเป็นที่อาศัยยึดเกาะของไข่ ส่วนน้ำควรใช้น้ำสะอาดน้ำที่เหมาะสมกับการเพาะคือน้ำประปาที่ปล่อยทิ้งไว้ 1-2 วัน
2. การเตรียมพ่อ - แม่พันธุ์ ควรคัดเลือกจากการสังเกตปลาที่มีความสมบูรณ์ที่สุด เพศเมียจะมีลักษณะลำตัวใหญ่อ้วนกลมกว่าเพศผู้ ส่วนท้องจะเต่งขยายออก การเคลื่อนไหวเชื่องช้า สีสันคมชัดกว่าเพศผู้ สำหรับเพศผู้จะลำตัวเรียวยาวกว่าเพศเมีย และมักไล่ต้อนเพศเมียเมื่อถึงระยะที่จะผสมพันธุ์
3. การเพาะพันธุ์ เมื่อปล่อยพ่อแม่พันธุ์ไว้ในตู้เพาะหรืออ่างเพาะ 2-3 วัน จะสังเกตเห็นเพศผู้ว่ายไล่ต้อนเพศเมีย ทำให้เพศเมียว่ายหนีเข้าไปอาศัยอยู่ในพันธุ์ไม้น้ำ และเมื่อร่างกายพร้อมก็จะเริ่มวางไข่ เพศผู้ก็จะฉีดน้ำเชื้อเข้าผสมทันที ประมาณ 1-2 วัน ก็จะเป็นตัวอ่อนให้นำพ่อแม่ปลาออกจากอ่างเพาะ
4. การอนุบาลลูกปลา หลังจากที่ลูกปลาออกจากไข่แล้ว 2-3 วัน ควรให้ลูกไรแดง และเปลี่ยนเป็นลูกน้ำเมื่อลูกปลาเริ่มโตพอที่จะกินลูกน้ำได้ เมื่ออายุได้ 1 เดือนควรเปลี่ยนเป็นกุ้งสดบดละเอียด และเมื่ออายุ 1 1/2 เดือน ลูกปลาจะเริ่มปรากฏลวดลายสีสันออกมาให้เห็นและจะปรากฏชัดเจนเมื่อมีอายุประมาณ 2 เดือน
1. การเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการเพาะพันธุ์ นักเพาะเลี้ยงส่วนใหญ่นิยมใช้บ่อหรือตู้เพาะพันธุ์ที่มีขนาดความจุน้ำประมาณ 50 ลิตร ระดับน้ำควรสูงจากพื้นประมาณ 4-5 นิ้ว นำพันธุ์ไม้น้ำไปปลูกเพื่อให้เหมือนธรรมชาติ และสำหรับให้ไข่เกาะยึด
2. การคัดเลือกพ่อ - แม่พันธุ์ คัดเลือกจากปลาที่มีความสมบูรณ์เต็มที่ก่อนอื่นต้องแยกเพศของปลาก่อน ปลาเพศผู้จะมีรูปร่างใหญ่กว่าปลาเพศเมียมีครีบหาง ครีบทวาร ครีบอก ยื่นยาวออกมามากกว่าปลาเพศเมีย และมีสีสันคมชัดกว่าปลาเพศเมีย ส่วนปลาตัวเมียรูปร่างจะเล็กกว่าและมีสีสันซีดจากกว่าปลาเพศผู้
3. การเพาะพันธุ์ เมื่อได้พ่อแม่ปลาตามต้องการแล้ว นำพ่อปลา 1 ตัว ต่อแม่ปลา 5-8 ตัว ทั้งนี้เพื่อมิให้พ่อพันธุ์กัดแม่พันธุ์จนตาย อีกทั้งบ่อเพาะก็ควรมีพื้นที่กว้างพอที่จะให้แม่พันธุ์วายหนีได้ด้วย เมื่อแม่พันธุ์พร้อมวางไข่ พ่อพันธุ์ก็จะสร้างรังโดย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น