วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2554

องค์ประกอบของการจัดตู้ปลา

องค์ประกอบของการจัดตู้ปลา
ตู้ปลา ที่นิยมมี 2 แบบ

1. แบบทรงกลม

2. ตู้ปลาแบบสี่เหลี่ยม ซึ่งมี 2 ลักษณะคือ

ตู้ปลาแบบมีกรอบเป็นตู้ปลาแบบรุ่นเก่าทำด้วยกรอบอลูมิเนียมใช้ชันอุดตามรอยรั่วกันน้ำรั่วซึม

ตู้ปลาแบบไม่มีกรอบ นำกระจกมาต่อกันโดยใช้กาาวซิลิโคนเป็นตัวประสานเข้าด้วยกัน

ฝาปิดตู้ปลา
ทำด้วยพลาสติก ช่วยป้องกันการระเหยของน้ำและป้องกันฝุ่นละอองจากภายนอก

เครื่องปั๊มอากาศ การใช้เครื่อง

1.ควรติดตังให้สูงกว่าตัวปลา เพื่อให้สะดวกในการดันอากาศ

2.การติดตั้งเครื่องปั๊มอากาศ ควรให้ห่างจากฝุ่นละออง เพราะฝุ่นละอองอาจทำให้เสียหายได้

อุปกรณ์ที่ติดมากับเครื่องปั๊มอากาศ

1. สายออกซิเจน ต้องหาและไม่มีรอยรั่ว

2. หัวทราย มีลักษณะเป็นทรงกลม มีรูพรุน ทำหน้าที่ให้อากาศเป็นฟองฝอยเล็กๆ
เพื่อให้ออกซิเจนสามรถละลายน้ำได้ดี

3. ข้อต่อ เป็นตัวแยกอากาศจากเครื่องปั๊มไปในทิศทางที่ต้องการ

4. วาวล์ควบคุม ทำหน้าที่ควบคุมปริมาณอากาศที่ออกมาจากเครื่องปั๊ม ให้ออกมา
ตามความเหมาะสม



ระบบการกรองน้ำ มี 2 แบบ คือ

1. ระบบการกรองภายในตู้ปลา

แบบกรองน้ำใต้ทราย

ส่วนประกอบ

- แผ่นกรองต้องเหมาะกับลักษณะของตู้ปลา มีรูพรุนเล็กๆ สูงจากพื้นตู้ประมาณ 2-3ซ.ม.

- ท่อส่งน้ำ ทำงานร่วมกับแผ่นกรองสามารถปรับทิศทางของน้ำที่พ่นออกมาให้ได้ตามต้องการได้

- สายอากาศเป็นสายทางเดินอากาศที่ต่อมาจากท่อปั๊ม

- ระบบการทำงาน

เครื่องปั๊มอากาศจะอัดอากาศ

ส่งไปตามสายอากาศที่เชื่อมระหว่างเครื่องปั๊มอากาศกับหัวครอบแผ่นกรองใต้ทราย เมื่ออากาศถูกดันออกมาตามท่อส่งน้ำที่ถูกพ่นออกมาจะไหลเวียนเข้าไปอยู่ใต้แผ่นกรอง
ขณะเดียวกันน้ำที่อยู่เหนือแผ่นกรองและพวกสิ่งสกปรกก็จะถูกดูดลงไปแทนที่
ทำให้น้ำใสสะอาดอยู่เสมอ

ระบบการกรองแบบกล่องใต้ตู้ ไม่เป็นที่นิยมมากนัก การทำงานคล้ายระบบการกรองน้ำ
ใต้ทราย ต่างกันเพียงระบบการกรองจะมีกล่องแยกต่างหาก ภายในกล่องกรองจะใส่ใยแก้ว
และถ่านคาร์บอน ข้อดีก็คือ สามารถถอดล้างทำความสะอาดได้ด้วย

2. ระบบการกรองภายนอกตู้ปลาประสิทธิภาพในการกรองจะเหนือกว่าระบบการกรอง
ที่กล่าวมาแล้วสามารถกรองเศษอาหารปลา มูลปลา กลิ่น สี ออกนอกตู้ปลาได้ดี อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่กรองคือ
ถ่านคาร์บอน และใยแก้ว

พันธุ์ไม้น้ำ หลักในการเลือกมีอยู่ 2 ประการ คือ

1. พิจารณาว่าพันธุ์ไม้พันธุ์นี้ชอบแสงสว่างหรือไม่

2. พิจารณาว่าพืชชนิดนี้มีความต้องการดินหรือกรวดในการยึดรากหรือไม่

กรวด
เป็นวัสดุที่ตกแต่งให้ตู้ปลาดูเป็นธรรมชาติ กรวดที่ควรมีขนาด 3 มม. ไม่ควรละเอียดและหยาบเกินไป

น้ำ
ควรใช้น้ำกรองหรือน้ำประปาที่ผ่านการกับไว้เพื่อให้คลอรีนระเหยออกไป

ตอไม้
ต้องเลือกตอไม้ชนิดแข็งเพราะถ้าใช้ตอไม้ชนิดอ่อนจะทำให้ตอไม้เปื่อยยุ่ยและเน่าได้ซึ่งตอไม้ม
ีประโยชน์ช่วยให้ทัศนียภาพสวยงามดูคล้ายธรรมชาติ ก่อนที่จะนำตอไม้มาประดับตู้ปลา
ควรต้มน้ำยางที่ตกค้างอยู่ในเนื้อไม้ให้ออกเสียก่อน

เปลือกหอย
สามารถตกแต่งทัศนียภาพในตู้ปลาของคุณให้ดูเป็นธรรมชาติ ก่อนที่จะนำมาประดับ
ตู้ปลานั้นขอแนะนำให้นำมาแช่น้ำเพื่อให้ความเค็มหายไปเสียก่อน

สิ่งประดิษฐ์บางชนิด
แผ่นภาพวิวจะประกอบด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิดหุ่นพลาสติกอย่าใช้หุ่นพลาสติกที่สีสามารถตกหรือลอกเป็น
อันขาดเชียวนะ เพราะอาจทำอันตรายแก่ปลาน้อยๆที่น่ารักของคุณได้

การเปลี่ยนน้ำปลา





ควรให้อาหารอย่างน้อยที่สุด 2 มื้อ แต่ละมื้อควรให้ปลากินหมดภายใน 10 นาที

ตักเศษอาหารหรือเศษใบไม้ ต้นไม้ที่ตายออกสังเกตปลาในตู้ถ้ามีปลาป่วย ให้แยกออกมาดูแล นับจำนวนปลาด้วยว่าอยู่ครบหรือไม่

ทุกสัปดาห์ควรตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอทำความสะอาดกระจกตู้ ด้านใน เปลี่ยนน้ำประมาณ 10-20 %ของปริมาตรน้ำทั้งหมดทำความสะอาดระบบกรองน้ำ ภายนอกตู้ และตรวจคุณภาพน้ำ

ทุกเดือน เปลี่ยนน้ำประมาณ 50 % ของตู้ โดยเน้นดูดน้ำบริเวณหินหรือกรวดรองพื้น

ทุก 3 เดือนควรจัดและตกแต่งภายในตู้ใหม่ ทำความสะอาดหิน กรวด ทราย และ ระบบกรองน้ำทั้งหมด

กิจกรรมดังกล่าวเป็นแค่เพียงตัวย่าง ซึ่งผู้เลี้ยงสามารถปรับ ดัดแปลงให้เข้ากับการเลี้ยง ของตนเองได้

การปรับค่า pH ของน้ำในการเลี้ยงปลา
หลายคนอาจเคยสงสัยเมื่ออ่านหนังสือคู่มือแนะนำการเลี้ยงปลา ต่าง ๆ ว่าทำไมน้ำที่ใช้เลี้ยงปลานั้น ต้องกำหนดค่า pH ที่ต่าง ๆ กัน แล้วเราจะมีวิธีการปรับค่า pH ให้เป็นไปตามที่เราต้องการได้อย่างไร

ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจกันก่อนว่าค่า pH นี้ก็คือ ค่าที่ใช้ในการวัดระดับ ความเป็น กรด-ด่าง ของน้ำและของเหลวต่าง ๆ ซึ่งเราจะรู้ได้โดยการใช้ พีเอชมิเตอร์ หรือ กระดาษวัดพีเอช วัดดู ( ค่าที่ได้ จะมีตั้งแต่ 0 - 14 )

pH ที่ 7 แสดงว่า เป็นกลาง

pH ต่ำกว่า 7 แสดงว่า เป็นกรด

pH สูงกว่า 7 แสดงว่าเป็นด่าง

เมื่อรู้อย่างนี้แล้วเรามีวิธีการปรับค่า pH ของน้ำให้เป็นไปตามที่เราต้องการมาฝากกัน ...

ถ้าน้ำเราเตรียมไว้มีค่า pH ต่ำกว่าเกณฑ์ที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพันธุ์ปลาของเรา ( คือมีความเป็นกรดสูงกว่าที่เราต้องการ ) ให้แก้โดยการใส่ปูนขาวหรือสารละลายพวก โปรแตสเซียมไฮดรอกไซด์

ถ้าในกรณีตรงกันข้าม น้ำที่เตรียมไว้กลับมี ค่า pH สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ( คือเป็นด่าง ) ให้แก้โดยการ ใส่กรดไฮโดรคลอริก หรือ แอมโมเนียมซัลเฟต

สำหรับการวัดค่า pH ของน้ำนั้น มักจะใช้กับการเลี้ยงปลาเป็นจำนวนมาก ๆ และต้องการปรับสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ให้เหมาะแก่การเจริญพันธุ์ของปลา เพราะฉะนั้นถ้าใครเลี้ยงเป็นงานอดิเรก หรือรักที่เลี้ยงเป็นเพื่อนคลายเหงาเฉย ๆ ก็ไม่ต้องซีเรียสกันในจุดนี้ก็ได้นะ ขอบอกไว้ก่อน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น